วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562

บทคัดย่อ ภาษาไทย 5 เรื่อง


1. การวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดภูเก็ตปี 2553 และ ปี 2556 
:นายรัฐพล พรหมสะอาด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล พรหมสะอาด
คณะครุศาสตร์

บทคัดย่อ
     รายงานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2553
และ ปีการศึกษา 2556 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัด
ภูเก็ต ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังห วัดภูเก็ต ปี
การศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ระหว่างหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียน และ 3. เพื่อวิเคราะห์
คุณลักษณะแบบทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ประชากรที่ใช้ในการ
วิจัย ประกอบด้วย 1. โรงเรียนที่นาผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2553 และ/หรือปีการศึกษา
2556 มาวิเคราะห์ จานวน 53 โรงเรียน รวมนักเรียนทั้งสิ้น จานวน 9,451 คน และ 2 ผู้บริหาร
สถานศึกษา จานวน 2 คน และครูประจาการ จานวน 21 คน ที่เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยและวิเคราะห์
คุณลักษณะของแบบทดสอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิเคราะห์คะแนน O-NET เฉลี่ยสูงสุด-ต่าสุด
ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่อยู่ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามลาดับ ส่วนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการ
วิเคราะห์คะแนน O-NET เฉลี่ยต่าสุด ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่อยู่ที่กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผลการวิเคราะห์คะแนน O-NET
เฉลี่ยสูงสุด ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่อยู่กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพล
ศึกษา
2. นักเรียนโรงเรียนที่มีคะแนน O-NET เฉลี่ยสูงสุดระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปี
การศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ นักเรียนโรงเรียนสังกัด
เทศบาลนครภูเก็ต และสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตามลาดับ ส่วนนักเรียน
โรงเรียนที่มีคะแนน O-NET เฉลี่ยสูงสุดระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา
2556 ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ นักเรียนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต
และสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ตามลาดับ
3. ผลการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อวิพากษ์ ระดมความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อกา
บริหารการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ได้ข้อมูลสรุปตามประเด็นต่อไปนี้ การออกข้อสอบ
การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ควรกาหนดมาตรฐาน/ตัวชี้วัดที่จะทดสอบแล้วแจ้งให้สถานศึกษาทราบ
ล่วงหน้า ควรออกแบบทดสอบให้หลากหลาย ไม่จากัดเฉพาะแบบทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบ ทั้งนี้
การจัดชุดของแบบทดสอบควรใช้ข้อคาถามเดียวกัน โดยอาจสลับข้อเพื่อทาเป็นแบบทดสอบคู่ขนาน
ตลอดจนควรจัดเวลาสอบตามความเหมาะสมของเนื้อหาและความยากง่ายของแบบทดสอบ สาหรับ
โรงเรียนควรเตรียมความพร้อมในการสอบ เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้แก่นักเรียน และควรนาผล
การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนของ
นักเรียน



2.  การส่งเสริมความรู้เนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีสารสนเทศของครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาในจังหวัดภูเก็ต
เพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการบริบทชุมชนท้องถิ่นและสังคมเศรษฐกิจพอเพียง

ดร. ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเรือง
คณะครุศาสตร์

บทคัดย่อ
     การให้ความสาคัญกับทักษะในยุคศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการปรับตัว ทักษะการสื่อสาร
ทักษะด้านเทคโนโลยี และทักษะการแก้ปัญหา และจากบริบทของประเทศไทยที่น้อมรับแนวทางปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยได้มีการบูรณาการประเด็น
ทั้งสองลงในหลักสูตรสถานศึกษา แต่ปัจจัยที่สาคัญและมีอิทธิพลต่อความสาเร็จการเป้าหมายนี้ได้คือ ครู
วิทยาศาสต ร์ การพัฒ าครูวิทยาศ าสตร์ให้มีความรู้ในเ นื้อหาผนวก วิธีสอน และ เทคโนโล ยี
(Technological Pedagogical Content Knowledge, TPACK)ที่เหมาะสมจึงถือว่าเป็นปัจจัยที่สาคัญ
และมีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฏิบัติการสอนของครูวิทยาศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
พัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูวิทยาศาสตร์ 40 ท่านที่เป็นครูพี่เลี้ยง โดย
โครงการพัฒนาวิชาชีพครู(Co-TPACK) ที่บูรณาการการหนุนนาอย่างต่อเนื่อง (Coaching System) ที่
โรงเรียนร่วมกับรูปแบบการร่วมมือกันในการสอน (Co-teaching Model) ระหว่างครูวิทยาศาสตร์
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และอาจารย์นิเทศก์โดยข้อมูลวิจัยนี้ประกอบด้วยข้อมูลจาก การ
สะท้อนการเรียนรู้ของครู การสังเกตการเรียนการสอน การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และใช้เหตุการณ์
จาลอง แบบสอบถามปลายเปิด และข้อมูลจากการศึกษาเอกสารการสอนต่างๆ งานวิจัยนี้มีระเบียบวิธี
วิจัยเป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods) โดยใช้กรอบแนวคิดการตีความ(Interpretivist
Framework)
ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเริ่มต้น ครูวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจ เกี่ยวกับปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงในด้านความหมาย ที่มา และองค์ประกอบ แต่ไม่สามารถอธิบายหรือสะท้อน ต่อ
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของตนเองได้ รูปแบบการสอนของครูส่วนใหญ่เน้นการบรรยายและการ
ทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อครูวิทยาศาสตร์เข้าร่วมในโครงการพัฒ นาวิชาชีพ (Co-TPACK) นี้พบว่า
ครูวิทยาศาสตร์สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อเนื้อหาวิทยาศาสตร์และวิธีการสอน โดยครู
วิทยาศาสตร์มีการวางแผนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างชัดเจน รูปแบบการพัฒ นา
วิชาชีพครู (Co-TPACK) ประกอบด้วย 3 วงจรปฏิบัติ ได้แก่ วงจรที่ 1 การเตรียมความพร้อมของ
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วงจรที่ 2 การสร้างและพัฒนาครูพี่เลี้ยง และวงจรที่ 3 การทางาน
ร่วมกันสามเส้า ซึ่งทั้งสามวงจรการปฎิบัติจะใช้รูปแบบการร่วมมือกันในการสอน (วางแผนร่วมกัน
ร่วมกันสอน และประเมินผลการสอนร่วมกัน) และระบบหนุนนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเน้นกระบวนการ
แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างครู นักศึกษาและอาจารย์นิเทศก์ที่มีบทบาทเป็นนักวิจัยและ
ครูต่างโรงเรียนผ่านช่องทางที่หลากหลาย รวมถึงการใช้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่าน
ออนไลน์สามารถส่งเสริมให้ครูวิทยาศาสตร์ออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการจัดการ
เรียนรู้ปัญหาเป็นรากฐานมีการใช้เหตุการณ์ สถานการณ์ สถานที่ในจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมในกิจกรรมการ
เรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ผลการพัฒนาของครูวิทยาศาสตร์ด้าน TPACK นั้นส่งผลให้ครูวิทยาศาสตร์
สามารถสอนวิทยาศาสตร์แบบบ่งชี้ถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ (Explicit Teaching) และการ
พัฒนาที่เกิดขึ้นกับครูวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้มีความยั่งยืนโดยเห็นได้จากแผนการจัดการเรียนรู้และการ
ปฏิบัติการสอนของครูวิทยาศาสตร์
คาสาคัญ: ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบการ
พัฒนาวิชาชีพครู



3.  สมรรถนะที่พึงประสงค์ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
:กรณีศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

นายเฉลิมพร วรพันธกิจ และนายศักดา ขจรบุญ
คณะวิทยาการจัดการ

บทคัดย่อ
     การวิจัยเรื่อง สมรรถนะที่พึงประสงค์ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อ
รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสมรรถนะปัจจุบันของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่ง
อันดามัน 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ
รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 3) เพื่อศึกษาปัญหาและ
อุปสรรคของการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ
รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิง
สารวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) กับกลุ่มข้าราชการ
พนักงานราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจานวน 477
ตัวอย่าง นอกจากนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก ( In-depth Interview) กับตัวแทน
ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จานวน 15 ตัวอย่าง รวมทั้งใช้การสนทนากลุ่ม (Focus
Group) กับตัวแทนบุคลากรขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จานวน 12 ตัวอย่าง ส่วนการ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ใช้การวิเคราะห์โดยจาแนกข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันที่
รองรับประชาคมอาเซียนมากที่สุด คือ มีความรู้การท่องเที่ยวและการบริการ มีทักษะการทางาน
เป็นทีม และมีมนุษยสัมพันธ์ เมื่อวิเคราะห์ช่องว่างของสมรรถนะบุคลากรองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่ต้องมีเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนในอนาคตอย่างเร่งด่วนใน 3 ลาดับแรกในแต่ละด้าน
พบว่าควรมีความรู้ในประชาคมอาเซียน การบริหารความเสี่ยง กฎหมายและกฎระเบียบ ส่วน
ด้านทักษะ ควรมีภาษาต่างประเทศอื่นๆ ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศและสืบค้นข้อมูล
ขณะที่ ด้านคุณลักษณะ ควรมีภาวะผู้นาและผู้ตาม จิตสานึกการบริการ และการรับฟังผู้อื่น
สาหรับปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์ในการรองรับเป็นประชาคม
อาเซียน ได้แก่ ความรู้และทักษะการใช้ภาษา ความรู้ความเข้าใจประชาคมอาเซียน งบประมาณ
หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารในองค์กร วัฒนธรรม เทคโนโลยี
สารสนเทศและ การสืบค้นข้อมูล และการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง องค์การ
บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตาบลในแต่ละพื้นที่ ควรดาเนินงานใน
รูปแบบบูรณาการการดาเนินงานร่วมกันทุกภาคส่วน โดยการพัฒนาเป็นเครือข่ายในระดับพื้นที่
เพื่อประสานความร่วมมือ เชื่อมโยง และแบ่งบันทรัพยากรทางการบริหารในการพัฒนา
สมรรถนะบุคลากร อย่างเร่งด่วนใน 3 ลาดับแรก ในแต่ละด้านข้างต้น เพื่อรองรับประชาคม
อาเซียนในอนาคต โดยการให้ความรู้หรือฝึกอบรม การพัฒนาตนเอง การปฏิบัติงานจริง และ
การศึกษา




4. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต

ดร.ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ
คณะวิทยาการจัดการ

บทคัดย่อ
     การศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคสินค้าของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของแรงงานต่างด้าว ศึกษาปัจจัยส่วน
ประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อตัดสินใจซื้อสินค้าของแรงงานต่างด้าว และศึกษาถึงปัญหา
และอุปสรรคในการตัดสินใจซื้อสินค้าของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง
ประกอบด้วยแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต เครื่องมือในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การหาค่า t (Independent
sample t-test) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และการหา
ความแตกต่างรายคู่ (Post Hoc)
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการบริโภคสินค้าของแรงงานสัญชาติพม่าที่อาศัยอยู่
ในจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้า 1-2 ครั้งต่อเดือน นิยมซื้อสินค้าวันหยุดงานมากที่สุด ซื้อ
สินค้าเวลา 06.00 – 09.00 . ใช้เวลาในการซื้อสินค้าแต่ละครั้ง 1 – 2 ชั่วโมง นิยมไปซื้อสินค้า
กับคนในครอบครัว ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าประเภทอาหารสดมากที่สุด รองลงมาคืออาหารแห้ง
และของใช้ในบ้าน การตัดสินใจซื้อสินค้านั้นพิจารณาจากเหตุผลด้านราคามากที่สุด รองลงมา
คือ สินค้าตรงตามความต้องการ และสินค้าคุณภาพดี จะตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยตนเองเป็นส่วน
ใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าเท่าที่จาเป็นต้องใช้ และใช้เงินในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งจานวน
501 – 1,000 บาทมากที่สุด สถานที่ในจังหวัดภูเก็ตที่แรงงานต่างด้าวนิยมไปเลือกซื้อสินนค้าคือ
ห้างซุปเปอร์ชีป รองลงมาคือบิ๊กซี และตลาดสด เหตุผลที่ใช้เลือกสถานที่ซื้อสินค้าคือ สินค้า
ครบถ้วนตามต้องการ รองลงมาคือใกล้บ้าน และสินค้ามีราคาถูก
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของแรงงานต่าง
ด้าวในจังหวัดภูเก็ตมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้าน
ช่องทางการจัดจาหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย ตามลาดับ ส่วนปัญหาและอุปสรรค
ในการตัดสินใจซื้อสินค้าของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่มักจะพบปัญหาความ
หลากหลายของสินค้ามีน้อย รองลงมาคือราคาสินค้าและค่าบริการที่สูง ความแตกต่างระหว่าง
ของไทยกับประเทศตน และความเพียงพอของสินค้าที่ต้องการซื้อ



5.  การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต


นายนิมิต ซุ้นสั้น นายวรานนท์ แสงวิจิตร และนางปิยวรรณ คากลัด
คณะวิทยาการจัดการ

บทคัดย่อ
     การศึกษาเรื่องการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เข้า
ร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ตครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
1.)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาล
กินเจ จังหวัดภูเก็ต 2.)เพื่อศึกษาระดับความสาคัญของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผล
ต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต และ
3.)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการต่อความต้องการกลับเข้า
ร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต
สาหรับวิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงปริมาณ โดยมีประชากรและขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็น
ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว คือ เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต จานวน
384 คน โดยเก็บข้อมูลจากสถานที่จัดงานเทศกาลกินเจของจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจงแจกความถี่ การคานวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสวนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน นอกจากนั้นยังใช้สถิติเชิงอนุมานในการเปรียบเทียบเพื่อหาความแตกต่าง รวมทั้งการ
พยากรณ์ ได้แก่ สถิติค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์
ผลการศึกษา พบว่า 1.)พฤติกรรมการเดินทางของผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์
ในการเดินทาง คือ ท่องเที่ยว โดยเดินทางร่วมกับเพื่อน รองลงมา คือ ครอบครัว ส่วนยานพาหนะ
นั้นใช้บริการของรถบริษัทนาเที่ยว และเลือกใช้สถานที่พักแรมเป็นโรงแรม ด้านจานวนวันพักเฉลี่ย
ต่อครั้ง พบว่า ผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่มีจานวนวันพักเฉลี่ยต่อครั้งจานวน 3-5 วัน และมีงานอดิเรก
คือ ท่องเที่ยว รองลงมา คือ ช้อปปิ้ง และถ่ายภาพ ส่วนด้านปัจจัยที่สาคัญในการตัดสินใจเดิน
ทางเข้าร่วมงานเทศกาล พบว่า ผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่ตัดสินใจเดินทางเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อ
ท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต มีสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว รองลงมา คือ มีสิ่ง
อานวยความสะดวกครบครัน และมีกิจกรรมระหว่างการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ 2.) ระดับความสาคัญ
ของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว
เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ตพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อนาระดับความสาคัญของการสื่อสารการตลาด
แบบบูรณาการต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ตทั้ง
5 ด้านมาเรียงลาดับตามค่าเฉลี่ย เพื่อพิจารณาตามลาดับความสาคัญ สามารถเรียงลาดับได้ ดังนี้
การโฆษณา รองลงมา คือ การสื่อสารออนไลน์ การประชาสัมพันธ์การตลาดทางตรง และการ
ส่งเสริมการขายและ 3.) ปัจจัยด้านการสื่อสารออนไลน์ ซึ่งเป็นปัจจัยด้านหนึ่งในการสื่อสาร
การตลาดแบบบูรณาการมีผลต่อสมการพยากรณ์แนวโน้มในการเดินทางกลับมาเข้าร่วมงานเทศกาล
เพื่อการท่องเที่ยว เทศกาลกินเจ เพียงปัจจัยเดียว
สาหรับข้อเสนอจากการศึกษา ได้แก่ การจัดทาฐานข้อมูลออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับงาน
เทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว และการโฆษณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว
อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง รวมทั้งควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น