วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562

บทความการศึกษา 5 บทความ


1. จดหมายถึงครู 

โดย...ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 

     วันนี้เมื่อกระแสกดดันการศึกษาไทยรุนแรงมากขึ้นจากโซเชียลมีเดีย และจากที่คนไทยเริ่มรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงแบบหักศอกในโลกยุค Disruption หรือยุคทำลายล้างเพื่อเกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่า จึงกังวลว่าลูกหลานไทยจะสู้ใครไม่ได้ เพราะการศึกษาไทยติดหล่ม ถึงแม้รัฐจะทุ่มเทเต็มกำลังก็ตามที อนาคตไทยก็ยังน่าเป็นห่วง เมื่อการศึกษาไทยมีปัญหาครูมักกลายเป็นจำเลยของสังคม หรือผิดเป็นครูบ้างก็ว่าครูรุ่นใหม่ขาดจิตวิญญาณ ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว แต่ปัญหาครูก็เป็นเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น ในหลายปัจจัยของวงการศึกษาไทย การที่ครูมักต้องเป็นแพะรับบาปร่ำไป ผมจึงรู้สึกได้ถึงความไม่เป็นธรรม เพราะตัวผมก็เป็นครู พ่อแม่ของผมก็เป็นครู เรียนมาตั้งแต่อนุบาลจนจบปริญญาเอก มีวันนี้ได้ก็เพราะมีครู จึงขอเถียงเลยว่าครูต้องดี แต่...วันนั้นกับวันนี้อาจต่างกันและโลกในวันหน้าก็ยิ่งต่างกันสิ้นเชิง ครูในอนาคตจะเป็นอาชีพที่ถูกท้าทายมากที่สุด ในยุคที่เด็ก I don’t care คือ ไม่สนว่าเรียนแล้วได้อะไร ไม่เชื่อว่าหลักสูตรตอบโจทย์ชีวิต ผนวกกับยุคนายจ้าง I don’t care เหมือนกัน คือ ไม่สนว่าคุณเรียนจบแล้วได้ปริญญาอะไรมา หรือจะจบมหาวิทยาลัยดังแค่ไหนก็ตาม หากทำงานไม่ได้ ไม่ดี ฉันก็ไม่สน ไม่จ้าง ครูจึงต้องเปลี่ยนเพราะหากไม่เปลี่ยน ไม่ใช่แค่แพ้แต่ถึงกับสูญพันธุ์ดังนั้น ครูยุค Disruption ควรต้อง 1.สอนเด็กให้ทำงานได้ ทำงานเป็นมีความเชี่ยวชาญจริง ไม่ใช่สอนเพื่อไปสอบ เพื่อไปได้ปริญญา เพราะใบปริญญากำลังจะหมดความนิยม 2.สอนเพื่อตอบโจทย์โลกแห่งความเป็นจริง (Real World) ใช้ได้ในชีวิตจริง ไม่ใช่สอนตามหนังสือตามแบบฝึกหัด 3.ยอมปรับตัวแรงและเร็ว ไม่มีทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะในโลกดิจิทัลหนึ่งนาทีก็ช้าไปแล้ว 4.มีความเข้าใจและเข้าถึงเด็กผู้เรียนอย่างแท้จริง สื่อสารได้ด้วยวิธีการใหม่ๆ ลืมของเดิมไปเลย 5.ไม่หลบหลีกเทคโนโลยีชั้นสูงในการเรียนการสอน ควรรู้ทั้งเรื่องการเรียนออนไลน์ การใช้เครื่องมือใหม่ๆ อีกทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะเข้ามาเต็มรูปแบบ 6.พบเจอกับการประเมินรายบุคคล ทั้งจากเด็กและการจัดอันดับการสอนแบบทันที (Real Time) ด้วยบิ๊กดาต้าและบล็อกเชนเป็นยุคที่ทำดีก็ได้ดีเร็ว ทำเสียก็ไปเร็วเช่นกัน 7.คิดหลักสูตรเองและเครื่องมือเรียนรู้เองได้ สร้างสรรค์ความแตกต่างแบบไม่ซ้ำใคร 9.มีจิตวิญญาณความเป็นครูยังไงก็ยังสำคัญที่สุด จึงขอให้กำลังใจให้ผู้ที่จะเป็นครูมืออาชีพขณะที่การเป็นครูยิ่งยากมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งเป็นหน้าที่ของรัฐและสังคมไทย ที่จะต้องดูแลครูให้มากขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องเงินเดือน สวัสดิการ แต่ต้องเป็นเรื่องการส่งเสริมพัฒนาอาชีพครู ถึงจะเป็นธรรม ไม่ใช่คาดหวังสูง แต่ไม่เหลียวแล คงไม่แฟร์สำหรับครู และขอเป็นกำลังใจให้รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ ด้วยเช่นกัน เพราะรู้ว่าเป็นเรื่องยากมาก ผมจึงขอส่งจดหมายถึงครูไทยทุกคนว่า คนไทยเรายังรักครูครับ สู้สู้ ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก โพสต์ทูเดย์ วันที่ 24 กันยายน 2561

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/85542





2. การจัดการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อแสวงหาแนวทางปฏิรูป’ 

ดร.พีระพงษ์ สิทธิอมร 

     ประเทศไทยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามแนวทางนโยบายแห่งรัฐสอดคล้องกับการพัฒนาที่แท้จริง กล่าวคือ มุ่งพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืน โดยวางแผนพัฒนาศักยภาพของพลเมืองโดยแนว EO ED EA EO = Education Online ED = Education Distance Learning EA = Education Advisor มุ่งเน้นการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เช่น แนวทางการดำเนินการ กอปศ. โดยการร่าง ...การศึกษาแห่งชาติ ร่าง ...กองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา ร่าง ...เด็กปฐมวัย ร่าง ...โรงเรียนในกำกับของรัฐ ร่าง ...เขตพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นการแปลงร่างแม่โขงเอามาบรรจุขวดรีเจนซี่ (เหล้าเก่าในขวดใหม่) ก็อาจจะกล่าวว่าการจัดการศึกษาที่ใช้ทิศทางทำอะไร ปฏิรูปอะไร ก็ไม่ถูกแนวทางปฏิรูป มีนักการศึกษาเต็มบ้านเต็มเมือง แต่ใช้คนไม่ถูกกับงานปฏิรูป มีแต่คนมีชื่อเสียงจากครุศาสตร์กับศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบ้าง นายกรัฐมนตรีก็คิดได้ไม่หมดกับแนวทางการจัดการศึกษา อาศัยการใช้กฎหมาย .44 มาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการบริหารงานบุคลากร การปฏิรูปหลงทาง เป็นต้นว่า นโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ การจัดการศึกษาในระบบขาดเอกภาพ การบริหารเหลื่อมล้ำ แนวทางการแก้ปัญหาการจัดการศึกษาขาดเอกภาพ ต้องใช้ Multidimention Education in Reform of Thailand อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปที่ล้มเหลวอีกด้านก็สื่อด้านปฏิรูปอาชีวศึกษา ความล้มเหลวด้านกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยพัฒนาต่อยอดด้านวิชาชีพ การเรียนระบบอาชีวศึกษาเป็นนักศึกษาเกรด B มีของระบบวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย การเรียนแล้วว่างงาน การเลือกเรียนอาชีวศึกษาเป็นการเรียนที่มาจากความต้องการความสนใจเรียนแบบขอไปที ซึ่งไปเรียนที่ไหนไม่ได้ สถาบันอาชีวศึกษาขาดสื่อการสอนที่ดี ดังคำกล่าวของ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา คณะกรรมการการศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้วิเคราะห์ปัญหาอาชีวศึกษาด้านทักษะ ด้านจริยธรรม ตลอดจนความสามารถในการพัฒนาอาชีวศึกษาไปสู่นโยบายไทย Thailand 4.0 ดังนี้ 1.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการทำงานในภาคอุตสาหกรรม ยึดมั่นในค่านิยมหลัก คือ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ด้วยตนเองได้ มีใจรักและทุ่มเทในการสร้างผลงานที่ดีที่สุด มีการพัฒนาปรับปรุงผลงานอย่างต่อเนื่อง 2.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรมีกระบวนการคัดเลือกผู้เข้าเรียนสาขาช่างอุตสาหกรรมของสถาบันอาชีวศึกษา โดยทดสอบพื้นฐานความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และกำหนดให้มีการเรียนปรับพื้นฐานสำหรับผู้มีความรู้น้อยก่อนเปิดภาคการศึกษา 3.สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ควรพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนทางด้านวิชาชีพและครูผู้สอนทางสายสามัญ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning และ Project-Based Learning โดยครูผู้สอนต้องมีความสามารถในการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนร่วมกับการทำงานจริงได้ 4.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรพัฒนาครูให้สามารถวัดและประเมินผลการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ โดยเน้นการประเมินสมรรถนะ มีรูปแบบการวัดและการประเมินผลที่มีความหลากหลาย ยืดหยุ่นตามลักษณะบริบทของงานที่มีความแตกต่างกันในแต่ละสาขาอาชีพ ครูผู้สอนต้องมีความรู้ความสามารถในการประเมินผลการเรียนการสอน โดยกำหนดเกณฑ์ในการประเมินผลงาน/ชิ้นงาน ที่มีมาตรฐาน และมีความชัดเจน เพื่อให้สามารถประเมินผลงานที่มีความหลากหลายได้อย่างยุติธรรม   5.ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสนใจที่จะเข้าเรียน ควรมีการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ที่เหมาะสมและพอเพียงกับการใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และสามารถนำไปประยุกต์กับการปฏิบัติงานจริงได้ และต้องให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัลเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน 6.ครูผู้สอนทางช่างอุตสาหกรรม ต้องตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับสถานประกอบการ จึงต้องใส่ใจในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้และศึกษาในสิ่งใหม่ๆ มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัลเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์ การจัดการศึกษามีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระดับใด แต่ละรูปแบบพัฒนาขึ้นจากองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดไปจนถึงการเมืองของประเทศนั้นๆ และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันแบ่งการศึกษาเป็นสายสามัญและสายวิชาชีพ ก็เช่นเดียวกับที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดมา แต่ส่วนใหญ่จะเป็นในส่วนของโครงสร้างการบริหาร ทำให้เกิดข้อข้องใจในคุณภาพการศึกษาของผู้ที่จบการศึกษาสาขาต่างๆ ตลอดมา รวมถึงขาดแคลนกำลังคนในบางสาขาวิชา เช่น อาชีวศึกษาทางด้านอุตสาหกรรม ฯลฯ จึงต้องมีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบอย่างรีบด่วน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการกำลังคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศในโลกยุคดิจิทัลและการสื่อสารที่ไร้พรมแดน การปฏิรูปการศึกษาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีครั้งนี้ ล้มเหลวตั้งแต่การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแล้ว ละเลยผู้ที่ขาดโอกาสในวัยแรงงาน ผู้สูงอายุ สตรีและเด็ก การจัดการศึกษาขาดเอกภาพในการจัดอย่างครอบคลุม และมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสื่อ และกระบวนการเรียนรู้ ผู้เสนอบทความนี้ เห็นควรจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกมิติเป็นรูปแบบปฏิรูปในลักษณะ Multidimention Education in Reform for Thailand จะได้จัดการศึกษาอย่างทั่วไปตามความต้องการความสนใจอย่างเสมอภาค ควรจัดแบบ EO = Education Online โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน ให้เลือกหลักสูตรเลือกวิชาที่สนใจตรงกับความต้องการอาชีพอย่างเหมาะสม ED = Education Distance Learning การศึกษาทางไกลผ่านสื่อดาวเทียม เรียนได้ทุกที่ทุกเวลาทุกโอกาสและบุคคล EA = Education Advisor การเรียนรู้ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา คอยสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมด้านหลักสูตร เหมาะสมกับวัย เหมาะสมกับเวลา เหมาะสมกับการทำงานและอาชีพ อย่างไรก็ดี ในบทสรุปของการปฏิรูปการศึกษาควรตั้งและมีมโนธรรมสำหรับการบริหารระดับสูงที่จะเลือกกลุ่มวิชาการไปร่วมงาน ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างฉลาดเฉลียวกับงานปฏิรูป ควรเป็นระบบกิจกรรมการพัฒนาควรหลากหลาย ไม่เน้นเฉพาะเรื่องหลักสูตรครู นักเรียน สื่อ หรือวิธีสอนเท่านั้น ควรให้ครบทุกมิติครบทุกกิจกรรม มีกระบวนการการปฏิบัติได้ ต้องเห็นผลมีสิทธิภาพ เกิดคุณภาพที่ประเมินได้ สามารถตอบโจทย์การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ นอกระบบอย่างทั่วถึงและเสมอภาค การพัฒนาประเทศจึงจะบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาประเทศไทย 

ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 - 17:25 .
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/85177




3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ .o  

รศ.(พิเศษ) ดร.พรชัย เจดามาน

     ผู้นำในศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0 สิ่งที่ท้าทายความสามารถ คือ ความสามารถนำพาองค์กรของตนให้อยู่ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นโอกาส การทราบวิธีการค้นหาการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง และทราบวิธีที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผลทั้งจากภายนอกและภายในองค์กร ได้แก่ ด้านนโยบายการสร้างอนาคต ด้านวิธีการอย่างเป็นระบบในการมองหาและคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลง ด้านวิธีที่ถูกต้องในการสร้างความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้านนโยบายในการสร้างสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงกับความต่อเนื่อง เพราะนโยบายการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างเป็นระบบ สามารถสร้างจิตสำนึกให้องค์กรในฐานะที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังทำให้องค์กรมองเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นคือโอกาสที่เกิดขึ้นมาใหม่ภายใต้บทบาทสำคัญ . การทำความรู้จักกับการเปลี่ยนแปลง (To Make the Change) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาจากการแข่งขันที่ไร้พรมแดน โลกกำลังอยู่ในยุคของเทคโนโลยีและข่าวสาร ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นเมื่อผู้นำเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงแล้วก็จะสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา มีผลกระทบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กร . ผู้นำต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง (Leadership to Change Intervention) ของแผนปฏิบัติการในการปรับแต่งสิ่งต่าง ให้แตกต่างจากเดิม โดยอาจจะกระทำอย่างรวดเร็วหรือกระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป การบริหารความเปลี่ยนแปลงนั้น จะต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงก่อนแล้วจึงกำหนดเป้าหมายและเลือกวิธีที่จะนำมาใช้ในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องอาศัยการวางแผนการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์แล้วจึงนำไปปฏิบัติตามแผนที่ต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร มีการเสริมแรงให้กับความเปลี่ยนแปลงโดยการชี้แจงให้บุคลากรในองค์กรทราบถึงความเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุงที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแสดงความขอบคุณต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องและมีส่วนช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแล้วจึงทำการประเมินผลต่อไป . การเป็นตัวแทนความเปลี่ยนแปลง (Change Agent) การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือมีหน้าที่ในการจัดกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรเพื่อพัฒนา เน้นผลการปฏิบัติงานโดยส่วนรวมมากกว่าการเน้นไปที่ผลงานของแต่ละคนในองค์กร ให้บุคลากรในองค์กรรับรู้ถึงผลการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และวิกฤตการณ์ต่างๆที่องค์กรเผชิญอยู่ เช่น จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค . การเป็นนักคิด นักพัฒนาที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก (The Thinkers Developers keep Pace with the Changing World) มีวิสัยทัศน์ในการบริหารงานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และไม่ยึดติดต่อสิ่งใด . การบริหารงานแบบประชาธิปไตย (Democratic Administrational) รับความคิดเห็นของผู้อื่น ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหากับบุคลากรในองค์กร . การเป็นผู้ประสานงานในองค์กรให้เกิดการทำงานที่ราบรื่น (Organization is Coordinating a Smooth Operation) มุ่งให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และประสานงานนอกองค์กรให้เกิดภาคีเครือข่ายร่วมคิด ร่วมจัดการศึกษา . การประนีประนอม (Compromise) ผู้นำต้องพยายามไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความขัดแย้งในองค์กร เป็นผู้ประนีประนอมเมื่อเกิดปัญหา . การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) ผู้นำต้องสนับสนุนให้ทุกคนทำรายงานผลการดำเนินงาน และนำรายงานมาประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบ . การประชาสงเคราะห์ (Public Welfare) ผู้นำจะต้องให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงานทุกเรื่อง เป็นห่วงเป็นใยตลอดเวลา จะประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงาน การพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ทุกคนมีความก้าวหน้า การให้อภัย การตักเตือน การเป็นกัลยาณมิตร ทักษะของภาวะผู้นำศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ .o ที่จะประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ได้แก่ การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผลสูง (Highly Effective Team Building) การแก้ปัญหา (Problem Solving) การวางแผน (Planning Project) การกำกับการ ปฏิบัติงาน (Performance Monitoring) และการสื่อสารที่ดี (Communication and Climate set) การสร้างสัมพันธ์ (Relationship Building up) และการสอนงาน (Coaching) การสร้างสังคม (Social) และการติดสินใจ (Decision Making) การกระตุ้นจูงใจ (Motivational) การคิดเชิงสะท้อน (Reflective Thinking) และการจัดการตนเอง (Self - Management) การใช้เทคโนโลยี (Technological) การเรียนการสอน (Pedagogical) รวมทั้งความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ตลอดจน การบริหารที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ (Administration and Flexibly Adapted to the Situation) มีแนวทาง ดังนี้ . การวางแผน (Planning) การวางแผนที่ดีด้วยแผนกลยุทธ์ นโยบาย แผนงานที่ชัดเจนเข้าใจง่าย โดยการวางแผนนั้นต้องมีแนวปฏิบัติที่เป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ได้เป็นอย่างดีและสามารถปรับปรุงยืดหยุ่นให้สอดรับกับนโยบายให้เป็นวิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าประสงค์ . การจัดองค์กร (Organizing) เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าสิ่งใดจะต้องมีการจัดโครงสร้างอย่างชัดเจนทั้งสายงานจัดบุคคลากรตามสายบังคับบัญชา การแบ่งหน้าที่ของฝ่ายงานอย่างเป็นระบบงาน และมีทีมงานในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ . การบังคับบัญชา (Commanding) มีการตัดสินใจสั่งการที่เป็นกัลยาณมิตร การสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบังคับบัญชาดูแลตรวจสอบและติดตาม . การประสานงาน (Coordinating) ทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ดังนั้นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์เพื่อประสานงานต่างๆ และให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ . การควบคุม (Controlling) จำเป็นต้องมีการควบคุม ดูแลทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า เพื่อให้การจัดการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลโดยผ่านองค์ประกอบพฤติกรรม ประการ คือ . การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence) เป็นระดับพฤติกรรมการทำงานที่ผู้นำแสดงให้เห็นและเป็นกระบวนการทำให้ผู้ร่วมงานยอมรับ เชื่อมั่น ศรัทธา ภาคภูมิใจ ไว้วางใจในความสามารถ มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ขององค์กร มีเป้าหมายชัดเจนและมั่นใจที่จะเอาชนะอุปสรรค์ การมีวิสัยทัศน์และการถ่ายทอดไปยังผู้ร่วมงาน มีความสามารถ มุ่งมั่น ตระหนักและทุ่มเท มีความสามารถในการจัดการ หรือควบคุมตนเอง เห็นคุณค่า มีคุณธรรมและจริยธรรม . การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration Motivation) เป็นระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการทำงาน ที่เป็นกระบวนการทำให้ผู้ร่วมงาน มีแรงจูงใจภายใน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน การตั้งมาตรฐานในการทำงานสูง มีการคิดเชิงบวกและเชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมาย . การกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation) เป็นระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการทำงานที่เป็นกระบวนการกระตุ้นผู้ร่วมงานให้เห็นวิธีการ หรือ แนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา การมองปัญหาเชิงระบบในแง่มุมต่างๆ การวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้เหตุผลและข้อมูลหลักฐาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ . การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration) เป็นระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นถึงการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีการติดต่อแบบสองทางและเป็นรายบุคคล มีการวิเคราะห์ความต้องการและให้คำแนะนำ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานได้พัฒนาตนเองและยึดหลักการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ มีเทคนิคการ มอบหมายงาน ที่ดี . การสร้างทีมงาน (Teams) การมีความสามารถหรือพลังงานพิเศษของบุคคล การรวมกันของกลุ่มคนขึ้นมาอย่างเหมาะสมและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/83312





4.  กบฎสร้างสรรค์ทางการศึกษา

สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน นวพร สุนันท์ลิกานนท์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

     ประเทศไทยเรานี้มีความพยายามหลายครั้งหลายหนที่จะปฏิรูปการศึกษา แต่ความพยายามนั้นๆ กลับปฏิรูปได้เพียงโครงสร้างระบบการบริหารจัดการของหน่วยงานทางการศึกษา ปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษากลายเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรแต่ละครั้ง หากแต่ไม่ได้เป็นประเด็นหลักสำคัญที่ทุกคนให้ความสนใจและทุ่มเทกำลังแรงกายแรงสมองอย่างจริงจัง การศึกษาให้ลึกถึงแก่นของปัญหาคุณภาพการศึกษาที่นับวันยิ่งจะย่ำแย่ลงไปเรื่อยๆ นั้นไม่ได้ถูกให้ความสำคัญหรือให้เวลามากนัก จะเห็นได้จากการสั่งการนโยบาย ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ส่งผลตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ชาติไทยได้อย่างรวดเร็วโดยมิได้มีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสนับสนุนการตัดสินใจสำคัญๆ แต่ละครั้งเลย การสั่งการนโยบายจากบนลงล่างที่กลับไปกลับมา จึงอาจจะเป็นหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยก็เป็นได้ รัฐมนตรีที่เข้ามาดูแลเชิงนโยบายมีช่วงเวลาบริหารเฉลี่ยคนละ 6 เดือน 16 วัน ไม่เพียงการสั่งการบนลงล่างที่หาได้มีข้อค้นพบจากงานวิจัยหรือหลักฐานเชิงประจักษ์รองรับเท่านั้น การบริหารจัดการผ่านโครงสร้างเทอะทะ ส่งต่อคำสั่งผ่านช่องทางอำนาจแต่ละชั้นจนไปถึงหน่วยปฏิบัติการอย่างโรงเรียน ดูจะเป็นอีกหนึ่งปัญหา เนื่องจากการสั่งการและส่งตรงคำสั่งต่างๆ ลงมานั้น ไม่ได้รับการถ่ายทอดคำสั่งพร้อมการตีความและการทำความเข้าใจอย่างถูกต้องมาตั้งแต่ต้นทาง ถึงแม้ว่านโยบายสั่งการมีเจตนาดีต่อวงการศึกษามากเพียงใด ก็ไม่สามารถเปิดโอกาสให้การดำเนินการตามนโยบายนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปได้โดยสมบูรณ์ สอบตกตรงที่แผนเป๊ะ ปฏิบัติแป้กก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งไป หน่วยปฏิบัติงานทางการศึกษาอย่างโรงเรียนจึงเป็นหน่วยที่รับเละเสียทุกที ความเข้าใจตรงกันและความต่อเนื่องเชิงนโยบายสอบตกตลอดมา ในทางกฎหมายโรงเรียนนิติบุคคลมีการกล่าวถึงในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ..2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2545 มาตรา 39 ว่าด้วยเรื่องการกระจายอำนาจของกระทรวงศึกษาในด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล ตลอดจนการบริหารงานทั่วไปให้กับคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรงในความเป็นจริงแล้วเป็นการกระจายอำนาจเพียงวาทกรรมเท่านั้น โรงเรียนไม่สามารถแม้แต่จะเลือกรับครูที่จบตรงสาขามาสอนให้กับเด็กในโรงเรียนได้เลยคำกล่าวหนึ่งของนายโกวิท บุญเฉลียว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคูเมือง (อ่อนอนุเคราะห์) .วารินชำราบ .อุบลราชธานี ที่ทำให้แม้แต่ผู้เขียนเองยังรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ การกระจายอำนาจที่ว่าไว้ในกฎหมายดูเหมือนจะอุดตันอยู่ระหว่างทางมาถึงโรงเรียนที่เป็นส่วนสุดท้ายของสายการสั่งการ แต่กลับเป็นที่ที่เข้าใจประเด็นปัญหาด้านคุณภาพการศึกษามากที่สุด ไม่เพียงโรงเรียนบ้านคูเมืองเท่านั้นที่ประสบกับปัญหาคุณภาพการเรียนของนักเรียนตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ทั้งด้านการเรียนรู้ พฤติกรรม และคุณธรรม โรงเรียนเครือข่ายร่วมอุดมการณ์ อาทิ โรงเรียนบ้านนาจาน โดย ผอ.ปัญญา กาละปัตย์ โรงเรียนบ้านหนองหวาย โดย ผอ.บพิตร บุญเฉลียว โรงเรียนบ้านผึ้ง (มธุลีย์ประชาสรรค์) โดย ผอ.ธีระวัฒน์ ทองใส และโรงเรียนบ้านดอนยู โดย ผอ.พินิจ บุดดาลี ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ผู้อำนวยการแต่ละโรงเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ทั้งเรื่องรูปแบบการจัดการปัญหาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน การใช้ทรัพยากรเท่าที่มีร่วมกัน การเปิดโอกาสและการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตลูกหลาน เพราะการแก้ปัญหาเรื่องการเรียนรู้ของเด็กจะรอการสั่งการหรือการสนับสนุนเยียวยาจากรัฐไม่ได้ ไม่ทันการณ์และอาจแก้ไม่ตรงจุดที่เป็นปัญหาจริงๆ ความกล้าหาญในการรวมกลุ่มกันของโรงเรียนจึงเป็นการสานพลังกลุ่มเพื่อปลดแอกโรงเรียนออกจากข้อจำกัดภายใต้การทำงานในระบบบริหารส่วนกลาง เป็นโรงเรียนนิติบุคคลที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้และแก้ปัญหาทางการเรียนรู้ได้โดยตรง นับเป็นความกล้าหาญทางวิชาการของกลุ่มผู้บริหารในระบบราชการที่น่ายกย่องยิ่ง นวัตกรรมหนึ่งที่ ผอ.โกวิท และ ผอ.โรงเรียนเครือข่ายได้นำไปใช้ คือการจัดกลุ่มนักเรียนตามความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับศักยภาพที่มี หากมองเพียงเรื่องการจัดกลุ่มเด็กและสอน หลายคนอาจไม่คิดว่าเป็นเรื่องใหม่ ไม่ใช่นวัตกรรม แต่การแบ่งกลุ่มนักเรียนนี้เป็นหนึ่งในกระบวนการค้นหาความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวผู้เรียนและสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มถนัดวิชาการ กลุ่มถนัดการแสดงออก และกลุ่มถนัดงานช่าง ซึ่งการแบ่งกลุ่มดังกล่าวต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา โรงเรียนจัดสรรเรื่องตารางเวลาเรียน ออกแบบรายวิชาและกิจกรรม การบูรณาการศาสตร์วิชาการเข้าการศาสตร์อาชีพนักเรียนของโรงเรียนบ้านคูเมืองมีปัญหาหลากหลายทั้งโดดเรียน ขโมยเครื่องอะไหล่ยนต์ มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง บางครั้งก็ต้องไปประกันตัวลูกๆ นักเรียนออกมาบ้าง แต่ถ้าเราลองศึกษาทำความเข้าใจเด็กลงไปลึกๆ แล้วจะรู้ว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้มีต้นทุนทางครอบครัวอย่างคนอื่นเขา แล้วเรายังจะผลักเขาอีกหรือ ถ้าไม่ถนัดเรียน เรายังช่วยส่งเสริมและพัฒนาเขาในทางที่เขาถนัดได้ผอ.โกวิท ใช้แนวคิดการพัฒนาการเรียนรู้บนฐานชีวิต เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองได้ จึงเกิดการจัดการเรียนรู้บนฐานชีวิตขึ้น โดยบูรณาการความรู้วิชาการคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เข้ากับความรู้ศาสตร์อาชีพ เช่น การซ่อมเครื่องยนต์ การก่อสร้าง และการเกษตร ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มที่ถนัดงานช่าง ถึงแม้นักเรียนกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้มีคะแนนที่สูงจากการวัดด้วยแบบทดสอบมาตรฐานชาติ เครื่องมือเดียววัดและประเมินเด็กทั่วราชอาณาจักร แต่สิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ระหว่างทางคือการคำนวณปริมาณปูน น้ำ ทราย จำนวนก้อนอิฐระหว่างการก่อสร้างห้องหนังสือ การผสมอัตราส่วนดิน ปุ๋ยคอก การพัฒนาพันธุ์มะนาวไร้เม็ด เป็นต้น จากความพยายามเปิดโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ นักเรียนมองเห็นศักยภาพที่แฝงอยู่ในตัวเอง เห็นคุณค่าของการเรียนรู้และอยากพัฒนาตนเอง ดังนั้นการแยกกลุ่มการเรียนนี้เป็นไปเพื่อการยุบรวม การสร้างคุณค่าของการเป็นมนุษย์และการเรียนรู้อย่างมีความสุข พ่อแม่ผู้ปกครองรวมถึงชุมชนก็มีส่วนในการพัฒนาศักยภาพลูกหลานของตนเอง โดยการเป็นครูภูมิปัญญา ส่งต่อความรู้และฝึกทักษะอาชีพให้คงอยู่ต่อไป การเปลี่ยนแปลงทางบวกทั้งด้านสติปัญญา พฤติกรรม และคุณธรรมไม่ใช่เพียงความภาคภูมิใจของตัวเด็กเองเท่านั้น แต่เป็นทั้งความภูมิใจของครู โรงเรียนและชุมชนการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง คือการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นที่ตั้งแล้วผู้ใหญ่ในวงปฏิรูประบบการศึกษาของไทยตอนนี้ ได้ตั้งคำถามอย่างจริงจังต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยแล้วหรือยัง การปฏิรูปการศึกษาต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ ล่างสู่บน ปลดปล่อยโรงเรียนให้เป็นนิติบุคคลที่มีอำนาจในการบริหารจัดการบุคคล บรรจุแต่งตั้ง การพิจารณาความดีความชอบ งานวิชาการ หลักสูตรภูมิสังคม แผนการสอน กลุ่มประสบการณ์ การฝึกอบรม การนิเทศภายใน ผลสัมฤทธิ์ทักษะสมรรถภาพของผู้เรียน การบริหารงบประมาณ ค่าใช้จ่ายที่ตรงกับปัญหา สภาพข้อเท็จจริงที่มีอยู่ การสร้างเครือข่ายระบบโรงเรียนให้ชุมชนประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโรงเรียนมากขึ้น ภายใต้แนวคิดคืนโรงเรียนให้ชุมชน คืนครูสู่ห้องเรียน และคืนครูให้นักเรียนการออกกฎหมายโรงเรียนนิติบุคคลในระบบให้เป็นทางเลือกที่สร้างสรรค์จากระบบโรงเรียนที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันให้ความสำคัญกับแนวคิดจังหวัดจัดการศึกษาเพื่อตนเอง (กศจ.) ให้มีความอิสระในการบริหารงานให้สอดคล้องกับสังคมบริบทในแต่ละพื้นที่ ทบทวนใหม่ รื้อลดการเพิ่มองค์กรภูมิภาคที่ขัดแย้งทับซ้อนเชิงอำนาจ จะเป็นปัญหาแก้ไขยากในระยะยาว ดังเช่น เขตพื้นที่การศึกษา 268 เขต ศึกษาธิการจังหวัด 76 จังหวัด ศึกษาธิการภาค 18 แห่ง เป็นต้น สุดท้ายปรับขนาดส่วนกลางให้เล็กลงเหลือเพียงงานในเชิงนโยบาย กำกับติดตาม การสนับสนุนส่งเสริม และการตรวจสอบเชิงคุณภาพเท่านั้น นี่คือการกบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษาอย่างแท้จริง 

ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 9 สิงหาคม 2560 - 15:09 .
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/82605





5.  ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปอะไร

ดร. วิชัย พยัคฆโส 

     ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ได้กำหนดไว้ให้รัฐบาลต้องจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างน้อย 12 ปี น่าจะส่งผลต่อนโยบายการศึกษาแห่งชาติ แต่ดูเหมือนมีเสียงวิพากย์กันว่าจะมีการปิดกั้นการปฏิรูปการศึกษา จึงไม่ทราบว่าเหตุนั้นคืออะไร การพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศไทย 4.0 ตามที่รัฐบาลปักธงไว้ในอีก 20 ปี นั้น อาจเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่เน้นให้ความสำคัญกับคนที่จะต้องหล่อหลอมสอนให้เป็นคน 4.0 ” เช่นเดียวกัน ต้องยอมรับว่า พรบ. ปฏิรูปการศึกษา 2542 ไม่ประสบผลสำเร็จทั้งในระบบโครงสร้างและผลสัมฤทธิ์ ของคุณภาพการศึกษา จนประเทศเพื่อนบ้านเขาแซงหน้าไปหลายประเทศแล้ว การปฏิรูปการศึกษาคงต้องปฏิรูปกันทั้งระบบ หลายทิศทางและหลายปัจจัยแต่ต้อง บูรณาการให้สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาเป็นเป้าหมายสุดท้าย หรือ Outcome ที่จะเกิดขึ้น ทั้งโครงสร้าง การบริหารจัดการ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครู การพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล แต่ละเรื่องล้วนแล้วแต่ต้องมีมาตรการสนับสนุนอย่างเป็นระบบที่ต้องพัฒนาต่อเนื่องทั้งสิ้น ดูเหมือนว่าด้านโครงสร้างจะแยกกระทรวงอุดมศึกษาออกไป และแท่งต่างๆ ที่มีอยู่ ในปัจจุบันจะถูกหล่อหลอมใหม่ โดยบูรณาการให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละระดับ เช่น การศึกษา ขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา แต่เมื่อแยกแล้วควรต้องบริหารให้เกิดบูรณาการ ให้มี Outcome ไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้แผนการศึกษาแห่งชาติของสภาการศึกษาฯ เป็น Master Plan ที่ชัดเจน หากไปพิจารณาการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้วจะพบว่า จำนวนครูกับสัดส่วน ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ระหว่างครู 1 คน กับนักเรียน 12 – 20 คน เท่านั้น และต่างใช้วิธีการสอนแบบ Aclive leaning โดยใช้เทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆ ตาม Leaning Outcome ที่กำหนด คงมิใช่ปรับหลักสูตรโดยสอดใส่วิชาเข้าไปมากๆ แต่เพียงอย่างเดียว เหมือนบ้านเราที่มีเสียงบ่นกันว่าเรียนมาก ยัดเยียดเด็กมากเกินไป จนนายกรัฐมนตรีให้ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้กันอยู่ขณะนี้ คุณภาพหรือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอยู่ที่วิธีคิดว่าต้องการให้เด็กไทยแต่ละระดับเขาได้เรียนรู้ได้ความรู้อะไรบ้าง เพื่อการพัฒนาประเทศตามหลักคิดของความต้องการในศตวรรษที่ 21 เช่น ด้านความสามารถ ต้องการทักษะเชิงนวัตกรรม ทักษะความคิดเชิงสร้างสรร ความคิดเชิงวิเคราะห์เป็นสมรรถนะเชิงประจักษ์ ด้านความรู้เสริม ต้องการภาษาต่างประเทศ และไอซีที ด้านทักษะทางสังคม ต้องการคุณธรรมจริยธรรม ความรับผิดชอบ จิตสาธารณะเพื่อสังคม และมนุษยสัมพันธ์ เป็นตัวอย่างของความต้องการในผลสัมฤทธิ์แต่ละด้าน ซึ่งด้านสมรรถนะคงต้องใช้ครูที่ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ Active leaning ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าปฏิบัติได้ เช่น วิธีการสอนแบบ STEM ที่รวมศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ให้สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นนวัตกรรมได้ โดยเกิดทักษะด้านนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรและความคิดเชิงวิเคราะห์ได้ในระบบการสอน ด้านความรู้เสริม สอดแทรกในหลักสูตรและกิจกรรมเช่นเดียวกับทักษะทางสังคม ครูก็ต้องจัดกิจกรรมให้ซึมซับเข้าไปในตัวเด็ก เชื่อว่าครูในปัจจุบันพยายามใช้ระบบและวิธีการดังกล่าวกันบ้างแล้ว ทำอย่างไรจึงจะทำให้ครูมีสมรรถนะ ได้รับการเรียนรู้ในวิธีการสอนหรือวิธีการสอนของ STEM หรือ Finland Model หรือ CDIO ของสิงคโปร์ โดยโรงเรียนต้องจัดหา Leaning Space และ Work Space ให้พอเพียงแก่สถานภาพ ท้ายสุดที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือ สัดส่วนของครูกับนักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน และรายได้ของครู นั่นคือครูต้องเก่งและมีรายได้ที่เหมาะสมเป็นปัจจัยหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ   

ขอบคุณที่มาจาก สยามรัฐ 7 กุมภาพันธ์ 2560
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/81212

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ 5 เรื่อง


1. Research Topic Thailand Medical Tourism under the ASEAN Economic
Community (AEC): Opportunities and Threats

Abstract
The objectives of this study were to study the opportunities and
threats factors of Thailand’s medical tourism under ASEAN Economic
Community (AEC), to study the outsourcing in Thailand’s medical tourism
business and to determine the factors that affect investment in Thailand’s
medical tourism under AEC. Qualitative and quantitative methods were
applied. Data were collected by using questionnaire with 440 sampling of
Thailand’s medical staff and 12 managerial staffs of the private hospital
were interviewed. The questionnaires’ data was analyzed using descriptive
statistics and the content analysis was using with the data from the
interviews.
According to this study, the opportunities factors for the
Thailand’s medical tourism were economic factor, social and cultural
-23-
factor and technology factor. The threat factors were politics factor and
law factor. Also with the second language proficiency was the weakness of
Thai medical staff. The second language proficiency for communication of
the medical staff was moderate. (=2.89, S.D. = .801) The lack of the second
language skill of the medical staff was high. (=3.75, S.D. = .918).
The foreign medical personnel could work in Thailand as a
supporter because the Thailand’s law did not allow. While the outsourcing
in the medical tourism business was establishing the company to support
works such as purchasing medical equipment and medicine.
The factors that facilitate the medical investment by Thai
investor in other AEC countries were the economic factor, social and
cultural factor and technology factor. The targeted investment countries
were Cambodia, Myanmar and Laos.




2. Guidelines for Design and Development of Package Cushioning Made
from Banana Fiber for Thai Fruits

Abstract
This study was sponsored by the Research Fund of Phuket Rajabhat
University. The purposes were to investigate guidelines for developing
cushioning for packages from banana fiber which could be made easily and
cheaply by hand, and to examine the satisfaction level of the people regarding
this product. The study consisted of 4 stages. Stage 1: the researcher tested
methods of making package cushioning from banana fiber; Stage 2: the
researcher tried out the quality of package cushioning from banana fiber; Stage
3: the researcher developed the package cushioning from banana fiber for Thai
fruits; Stage 4: The satisfaction level of three groups of people were evaluated:
customers, business operators, and farmers. Research instruments included test
schedule, test results, cost of investment, notes from tests, and a universal
testing machine to test the quality of the cushioning. The sample group
consisted of 3 groups of people: 100 customers, 10 business operators, and 10
farmers.
The results were the following:
The process of producing package cushioning from banana trunks into
fiber can be easily done by hand. The material and equipment is readily
available in the community. There are 8 simple stages in producing the fiber.
The packages are molded and left to dry. Then, the packages are coated with
starch to make them stronger and more durable. This process will help the
people to produce a large number of pieces daily. The finished products can be
dyed for beauty.
From the tensile test, it was found that the fiber from banana trunks
possesses a high level of tensile strength (0.03 kilonewton / metre), and the
elongation level of the fiber was 3.65 %.
The test of the thickness of the fiber found that the thickness of the
banana fiber was 0.7 centimeters which could resist the impact of 0.73 meters
(the fruit table’s height). The comparison of the impact resistance of the banana
fiber and the conventional foam resulted that the banana fiber had a better
resistance impact. The researcher conducted 2 experiments to compare the
resistance impact by cushioning the mangoes with two different materials. In
the first experiment, the two 0.3 kg mangoes with different cushions were
dropped from the 0.73 meter height table. In the second experiment, the two
0.3 kg mangoes with different cushions were dropped from the 1.20 meter height
table. The result from both experiments showed that the mango with the
banana fiber was in perfect condition, while the mango in the foam cushion was
bruised.
In terms of the satisfaction level of the people for the package
cushioning for fruits made from banana fiber, it was found that the satisfaction
level of three groups of people was very high (4.52). As for each group, it was
revealed that 68% of female customers and 32% of male customers whose
salary was over 30,000 baht monthly had a very high level of satisfaction for the
structure and graphic design of the product (4.74). The farmers and vendors had
a high satisfaction level for unique forms of products which represent local
identity (4.90).
Keywords: banana fibers, packaging cushioning.





3.  Spirit of Andaman Sea

ABSTRACT
This research study about visual art, “Spirit of Andaman Sea”, is the
investigation of the natural characteristics and mythological symbols of the sea
in order to find the beauty from creations. This study provided the emotional
suggestions of the researcher in the scope of the study. The collected data were
processes, analyzed and synthesized conceptually in order to concretely provide
aesthetic records as well as to identify meanings in terms of usefulness. This
provided creation experiences through technical experiments, symbol
arrangement and artistic organization that resulted in piecework. Regarding the
significances of the study, conclusions are as follows. Firstly, the physical
content, the colors of the sea of Similan Islands, the movements of tidal waves,
the winds at night, and the beliefs of the people living with the Andaman Sea
were identified. Secondly, the visual art creation provided stories and visual
elements. The painting and sculpture processes were used for communicating
the feelings from the lives and perfection of everything under the Andaman Sea.





4.  Usage behavior in online social network of tourist toward the decision for choosing hotel in Phuket

Abstract
The aims of the research are to study the usage behavior in online social
network of tourist in Phuket, and study the effect of social network toward the decision
of tourist to choose a hotel in Phuket. The sample of the research consists of both Thai
and foreigner tourists, who normally use social network, in Phuket. The data of the
study was collected by a questionnaire. For analyzing data, the descriptive statistics,
independent sample t-test, one way ANOVA, and Post Hoc were selected for this
research.
The result indicated that most of Thai tourist surf internet more than four
hours per day meanwhile foreigner tourists surf internet three to four hours per day. In
addition, Thai and foreigner tourists usually use the social network every day for six
years and above. They mostly use the social network one to two hours per time. The
duration of using social network is from 6pm to 10pm. They generally surf the social
network via mobile phone. Furthermore, the most popular social network is Facebook.
They largely use it for charting with friends and searching for information. Both of Thai
and foreigner tourists have ever used the social network for buying product and service.
The factor in terms of information data and accessing information are the
most affected toward the decision of tourists for choosing a hotel in Phuket. For Thai
tourists, the credibility of the hotel and being an online member are the second and
the third factor for choosing the hotel respectively. Meanwhile, foreigner tourists
choose the hotel as being an online member which is the second factor, and the third
factor is credibility of the hotel.
Keywords: Social network, Tourist, Decision to purchase service, Hotel business





4. ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professionals

Abstract
The purposes of this study were: 1) to investigate the level of
competency of the operating staff in the 4 star hotels in Phuket, 2) to compare the
level of competency of the staff based on position, experience and type of hotels,
and 3) to identify problems and propose guidelines to develop the competency of
the housekeeping staff. The researcher selected 15 independent four star hotels
which belonged to the Thai Hotel Association and 6 international chain hotels in
Phuket. The sample group consisted of two groups: 225 operating staff who were
room attendants, public area cleaners, and laundry attendants; 21 housekeeping
managers from the hotels. The research tools included tests of ASEAN Common
Competency Standards for Tourism Professionals, and tests for each position. The
managers provided information about the level of competency of the staff from
their observation.
The results of the study revealed that the level of competency of the
operating staff in the 4 star hotels in Phuket based on the ASEAN Common
Competency Standards for Tourism Professionals was found to be high. The level of
core competency of the staff was also high. It was found the level of core
competency of the staff with different positions was not different; the staff with
different working experiences had a significantly different level of core competency.
Considering the generic competency of the staff, it was found that the
level of the generic competency of the staff was high except the English language
communication which was found to be moderate. The areas of competency which
should be taken into consideration included participation in promoting products
and services, problem solving, and conflict management in different levels. The
comparison of the staff with different backgrounds found that public area cleaners
and laundry attendants had a different level of competency. However, the staff
with different working experiences and types of hotels did not have different levels
of generic competency.
In terms of the functional competency, the staff thought that the level
of performance was high and complied with the needs of the administrators.
However, from the staff competency tests, it was found that the level of functional
competency of the room attendants and public area cleaners was moderate, while
the level of functional competency of the laundry attendants was low. The
comparison of the staff with different backgrounds found that the level of
functional competency of the staff who worked for the independent hotels and the
chain hotels was the same.
The managers and deputy managers of these hotels suggested that the
hotel develop the competency of the housekeeping staff by following these
strategies: coaching, internal training, and external training respectively. The
researcher suggested that the government should establish a unit to be responsible
for creating a curriculum which will be used to develop the competency of the
hotel staff based on the ASEAN Common Competency Standards for Tourism
Professionals. The hotel should develop the individual development plan for each
staff, and send the staff to train in the hotels in other ASEAN countries. As for the
university, the curriculum regarding Tourism and Hospitality should be revised to
comply with the ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professionals
in order to prepare the students to work effectively in the future market.





5. The Behaviors of Online Social Network Use of Junior High School Students in Phuket

ABSTRACT
This research aimed to study firstly on the characteristics of junior
high school students in Phuket on online social network use. Secondly, this
research focused on the behaviors of junior high school in Phuket on online
social network use. Lastly, this research studied the impact of online social
network use on junior high school students in Phuket.
In addition, the data collection of the study was collected by
questionnaire method. The descriptive statistics, independent sample t-test,
one-way analysis of variance (ANOVA), and Post hoc analysis were used for data
analysis.
The results of the characteristics of junior high school students in
Phuket on online social network use showed that the students who mostly used
social network were female in junior high school level 2. Most of them were
living with their parents. Their parents gave monthly money to them around
2,001 to 3,000 Baht. They mostly used mobile phone for surfing internet.
Moreover, the behaviors of online social network use of junior high
school students in Phuket found that most of students surfed internet more
than 3 hours per day. They mostly had experiences on the using internet for
three to five years. They actually started using social network because of their
friends’ suggestion. They widely used Facebook for chatting with their friends.
Most of them normally used internet every day. On Monday to Friday, they
usually used social network from 6pm to 10pm. On Saturday and Sunday, they
mostly used social network from 10am to 2pm by using mobile phone. They
mostly used internet before sleeping.
And the most popular place for using social network was at their
home. Some students provided publicly the actual information about
themselves on the social network and they liked to update all new information
every day. Most of their friends whom they chatted on the social network have
never seen each other. Their parents always involved with the students while
they were using social network. Furthermore, the students were advised and
helped on using social network by their friends.
The impact of online social network use of junior high school student
was that it affected mostly on emotion of the students. Latter, it affected on
society, healthy, and studying of the students subsequently.
Keywords: impact, online social network, students, Phuket, junior high school

บทคัดย่อ ภาษาไทย 5 เรื่อง


1. การวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดภูเก็ตปี 2553 และ ปี 2556 
:นายรัฐพล พรหมสะอาด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล พรหมสะอาด
คณะครุศาสตร์

บทคัดย่อ
     รายงานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2553
และ ปีการศึกษา 2556 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัด
ภูเก็ต ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังห วัดภูเก็ต ปี
การศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ระหว่างหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียน และ 3. เพื่อวิเคราะห์
คุณลักษณะแบบทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ประชากรที่ใช้ในการ
วิจัย ประกอบด้วย 1. โรงเรียนที่นาผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2553 และ/หรือปีการศึกษา
2556 มาวิเคราะห์ จานวน 53 โรงเรียน รวมนักเรียนทั้งสิ้น จานวน 9,451 คน และ 2 ผู้บริหาร
สถานศึกษา จานวน 2 คน และครูประจาการ จานวน 21 คน ที่เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยและวิเคราะห์
คุณลักษณะของแบบทดสอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิเคราะห์คะแนน O-NET เฉลี่ยสูงสุด-ต่าสุด
ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่อยู่ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามลาดับ ส่วนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการ
วิเคราะห์คะแนน O-NET เฉลี่ยต่าสุด ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่อยู่ที่กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผลการวิเคราะห์คะแนน O-NET
เฉลี่ยสูงสุด ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่อยู่กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพล
ศึกษา
2. นักเรียนโรงเรียนที่มีคะแนน O-NET เฉลี่ยสูงสุดระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปี
การศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2556 ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ นักเรียนโรงเรียนสังกัด
เทศบาลนครภูเก็ต และสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตามลาดับ ส่วนนักเรียน
โรงเรียนที่มีคะแนน O-NET เฉลี่ยสูงสุดระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา
2556 ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ นักเรียนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต
และสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ตามลาดับ
3. ผลการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อวิพากษ์ ระดมความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อกา
บริหารการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ได้ข้อมูลสรุปตามประเด็นต่อไปนี้ การออกข้อสอบ
การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ควรกาหนดมาตรฐาน/ตัวชี้วัดที่จะทดสอบแล้วแจ้งให้สถานศึกษาทราบ
ล่วงหน้า ควรออกแบบทดสอบให้หลากหลาย ไม่จากัดเฉพาะแบบทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบ ทั้งนี้
การจัดชุดของแบบทดสอบควรใช้ข้อคาถามเดียวกัน โดยอาจสลับข้อเพื่อทาเป็นแบบทดสอบคู่ขนาน
ตลอดจนควรจัดเวลาสอบตามความเหมาะสมของเนื้อหาและความยากง่ายของแบบทดสอบ สาหรับ
โรงเรียนควรเตรียมความพร้อมในการสอบ เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้แก่นักเรียน และควรนาผล
การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนของ
นักเรียน



2.  การส่งเสริมความรู้เนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีสารสนเทศของครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาในจังหวัดภูเก็ต
เพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการบริบทชุมชนท้องถิ่นและสังคมเศรษฐกิจพอเพียง

ดร. ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเรือง
คณะครุศาสตร์

บทคัดย่อ
     การให้ความสาคัญกับทักษะในยุคศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการปรับตัว ทักษะการสื่อสาร
ทักษะด้านเทคโนโลยี และทักษะการแก้ปัญหา และจากบริบทของประเทศไทยที่น้อมรับแนวทางปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยได้มีการบูรณาการประเด็น
ทั้งสองลงในหลักสูตรสถานศึกษา แต่ปัจจัยที่สาคัญและมีอิทธิพลต่อความสาเร็จการเป้าหมายนี้ได้คือ ครู
วิทยาศาสต ร์ การพัฒ าครูวิทยาศ าสตร์ให้มีความรู้ในเ นื้อหาผนวก วิธีสอน และ เทคโนโล ยี
(Technological Pedagogical Content Knowledge, TPACK)ที่เหมาะสมจึงถือว่าเป็นปัจจัยที่สาคัญ
และมีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฏิบัติการสอนของครูวิทยาศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
พัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูวิทยาศาสตร์ 40 ท่านที่เป็นครูพี่เลี้ยง โดย
โครงการพัฒนาวิชาชีพครู(Co-TPACK) ที่บูรณาการการหนุนนาอย่างต่อเนื่อง (Coaching System) ที่
โรงเรียนร่วมกับรูปแบบการร่วมมือกันในการสอน (Co-teaching Model) ระหว่างครูวิทยาศาสตร์
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และอาจารย์นิเทศก์โดยข้อมูลวิจัยนี้ประกอบด้วยข้อมูลจาก การ
สะท้อนการเรียนรู้ของครู การสังเกตการเรียนการสอน การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และใช้เหตุการณ์
จาลอง แบบสอบถามปลายเปิด และข้อมูลจากการศึกษาเอกสารการสอนต่างๆ งานวิจัยนี้มีระเบียบวิธี
วิจัยเป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods) โดยใช้กรอบแนวคิดการตีความ(Interpretivist
Framework)
ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเริ่มต้น ครูวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจ เกี่ยวกับปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงในด้านความหมาย ที่มา และองค์ประกอบ แต่ไม่สามารถอธิบายหรือสะท้อน ต่อ
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของตนเองได้ รูปแบบการสอนของครูส่วนใหญ่เน้นการบรรยายและการ
ทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อครูวิทยาศาสตร์เข้าร่วมในโครงการพัฒ นาวิชาชีพ (Co-TPACK) นี้พบว่า
ครูวิทยาศาสตร์สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อเนื้อหาวิทยาศาสตร์และวิธีการสอน โดยครู
วิทยาศาสตร์มีการวางแผนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างชัดเจน รูปแบบการพัฒ นา
วิชาชีพครู (Co-TPACK) ประกอบด้วย 3 วงจรปฏิบัติ ได้แก่ วงจรที่ 1 การเตรียมความพร้อมของ
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วงจรที่ 2 การสร้างและพัฒนาครูพี่เลี้ยง และวงจรที่ 3 การทางาน
ร่วมกันสามเส้า ซึ่งทั้งสามวงจรการปฎิบัติจะใช้รูปแบบการร่วมมือกันในการสอน (วางแผนร่วมกัน
ร่วมกันสอน และประเมินผลการสอนร่วมกัน) และระบบหนุนนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเน้นกระบวนการ
แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างครู นักศึกษาและอาจารย์นิเทศก์ที่มีบทบาทเป็นนักวิจัยและ
ครูต่างโรงเรียนผ่านช่องทางที่หลากหลาย รวมถึงการใช้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่าน
ออนไลน์สามารถส่งเสริมให้ครูวิทยาศาสตร์ออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการจัดการ
เรียนรู้ปัญหาเป็นรากฐานมีการใช้เหตุการณ์ สถานการณ์ สถานที่ในจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมในกิจกรรมการ
เรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ผลการพัฒนาของครูวิทยาศาสตร์ด้าน TPACK นั้นส่งผลให้ครูวิทยาศาสตร์
สามารถสอนวิทยาศาสตร์แบบบ่งชี้ถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ (Explicit Teaching) และการ
พัฒนาที่เกิดขึ้นกับครูวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้มีความยั่งยืนโดยเห็นได้จากแผนการจัดการเรียนรู้และการ
ปฏิบัติการสอนของครูวิทยาศาสตร์
คาสาคัญ: ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบการ
พัฒนาวิชาชีพครู



3.  สมรรถนะที่พึงประสงค์ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
:กรณีศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

นายเฉลิมพร วรพันธกิจ และนายศักดา ขจรบุญ
คณะวิทยาการจัดการ

บทคัดย่อ
     การวิจัยเรื่อง สมรรถนะที่พึงประสงค์ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อ
รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสมรรถนะปัจจุบันของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่ง
อันดามัน 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ
รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 3) เพื่อศึกษาปัญหาและ
อุปสรรคของการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ
รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิง
สารวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) กับกลุ่มข้าราชการ
พนักงานราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจานวน 477
ตัวอย่าง นอกจากนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก ( In-depth Interview) กับตัวแทน
ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จานวน 15 ตัวอย่าง รวมทั้งใช้การสนทนากลุ่ม (Focus
Group) กับตัวแทนบุคลากรขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จานวน 12 ตัวอย่าง ส่วนการ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ใช้การวิเคราะห์โดยจาแนกข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันที่
รองรับประชาคมอาเซียนมากที่สุด คือ มีความรู้การท่องเที่ยวและการบริการ มีทักษะการทางาน
เป็นทีม และมีมนุษยสัมพันธ์ เมื่อวิเคราะห์ช่องว่างของสมรรถนะบุคลากรองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่ต้องมีเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนในอนาคตอย่างเร่งด่วนใน 3 ลาดับแรกในแต่ละด้าน
พบว่าควรมีความรู้ในประชาคมอาเซียน การบริหารความเสี่ยง กฎหมายและกฎระเบียบ ส่วน
ด้านทักษะ ควรมีภาษาต่างประเทศอื่นๆ ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศและสืบค้นข้อมูล
ขณะที่ ด้านคุณลักษณะ ควรมีภาวะผู้นาและผู้ตาม จิตสานึกการบริการ และการรับฟังผู้อื่น
สาหรับปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์ในการรองรับเป็นประชาคม
อาเซียน ได้แก่ ความรู้และทักษะการใช้ภาษา ความรู้ความเข้าใจประชาคมอาเซียน งบประมาณ
หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารในองค์กร วัฒนธรรม เทคโนโลยี
สารสนเทศและ การสืบค้นข้อมูล และการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง องค์การ
บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตาบลในแต่ละพื้นที่ ควรดาเนินงานใน
รูปแบบบูรณาการการดาเนินงานร่วมกันทุกภาคส่วน โดยการพัฒนาเป็นเครือข่ายในระดับพื้นที่
เพื่อประสานความร่วมมือ เชื่อมโยง และแบ่งบันทรัพยากรทางการบริหารในการพัฒนา
สมรรถนะบุคลากร อย่างเร่งด่วนใน 3 ลาดับแรก ในแต่ละด้านข้างต้น เพื่อรองรับประชาคม
อาเซียนในอนาคต โดยการให้ความรู้หรือฝึกอบรม การพัฒนาตนเอง การปฏิบัติงานจริง และ
การศึกษา




4. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต

ดร.ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ
คณะวิทยาการจัดการ

บทคัดย่อ
     การศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคสินค้าของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของแรงงานต่างด้าว ศึกษาปัจจัยส่วน
ประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อตัดสินใจซื้อสินค้าของแรงงานต่างด้าว และศึกษาถึงปัญหา
และอุปสรรคในการตัดสินใจซื้อสินค้าของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง
ประกอบด้วยแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต เครื่องมือในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การหาค่า t (Independent
sample t-test) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และการหา
ความแตกต่างรายคู่ (Post Hoc)
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการบริโภคสินค้าของแรงงานสัญชาติพม่าที่อาศัยอยู่
ในจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้า 1-2 ครั้งต่อเดือน นิยมซื้อสินค้าวันหยุดงานมากที่สุด ซื้อ
สินค้าเวลา 06.00 – 09.00 . ใช้เวลาในการซื้อสินค้าแต่ละครั้ง 1 – 2 ชั่วโมง นิยมไปซื้อสินค้า
กับคนในครอบครัว ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าประเภทอาหารสดมากที่สุด รองลงมาคืออาหารแห้ง
และของใช้ในบ้าน การตัดสินใจซื้อสินค้านั้นพิจารณาจากเหตุผลด้านราคามากที่สุด รองลงมา
คือ สินค้าตรงตามความต้องการ และสินค้าคุณภาพดี จะตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยตนเองเป็นส่วน
ใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าเท่าที่จาเป็นต้องใช้ และใช้เงินในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งจานวน
501 – 1,000 บาทมากที่สุด สถานที่ในจังหวัดภูเก็ตที่แรงงานต่างด้าวนิยมไปเลือกซื้อสินนค้าคือ
ห้างซุปเปอร์ชีป รองลงมาคือบิ๊กซี และตลาดสด เหตุผลที่ใช้เลือกสถานที่ซื้อสินค้าคือ สินค้า
ครบถ้วนตามต้องการ รองลงมาคือใกล้บ้าน และสินค้ามีราคาถูก
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของแรงงานต่าง
ด้าวในจังหวัดภูเก็ตมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้าน
ช่องทางการจัดจาหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย ตามลาดับ ส่วนปัญหาและอุปสรรค
ในการตัดสินใจซื้อสินค้าของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่มักจะพบปัญหาความ
หลากหลายของสินค้ามีน้อย รองลงมาคือราคาสินค้าและค่าบริการที่สูง ความแตกต่างระหว่าง
ของไทยกับประเทศตน และความเพียงพอของสินค้าที่ต้องการซื้อ



5.  การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต


นายนิมิต ซุ้นสั้น นายวรานนท์ แสงวิจิตร และนางปิยวรรณ คากลัด
คณะวิทยาการจัดการ

บทคัดย่อ
     การศึกษาเรื่องการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เข้า
ร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ตครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
1.)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาล
กินเจ จังหวัดภูเก็ต 2.)เพื่อศึกษาระดับความสาคัญของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผล
ต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต และ
3.)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการต่อความต้องการกลับเข้า
ร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต
สาหรับวิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงปริมาณ โดยมีประชากรและขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็น
ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว คือ เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต จานวน
384 คน โดยเก็บข้อมูลจากสถานที่จัดงานเทศกาลกินเจของจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจงแจกความถี่ การคานวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสวนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน นอกจากนั้นยังใช้สถิติเชิงอนุมานในการเปรียบเทียบเพื่อหาความแตกต่าง รวมทั้งการ
พยากรณ์ ได้แก่ สถิติค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์
ผลการศึกษา พบว่า 1.)พฤติกรรมการเดินทางของผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์
ในการเดินทาง คือ ท่องเที่ยว โดยเดินทางร่วมกับเพื่อน รองลงมา คือ ครอบครัว ส่วนยานพาหนะ
นั้นใช้บริการของรถบริษัทนาเที่ยว และเลือกใช้สถานที่พักแรมเป็นโรงแรม ด้านจานวนวันพักเฉลี่ย
ต่อครั้ง พบว่า ผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่มีจานวนวันพักเฉลี่ยต่อครั้งจานวน 3-5 วัน และมีงานอดิเรก
คือ ท่องเที่ยว รองลงมา คือ ช้อปปิ้ง และถ่ายภาพ ส่วนด้านปัจจัยที่สาคัญในการตัดสินใจเดิน
ทางเข้าร่วมงานเทศกาล พบว่า ผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่ตัดสินใจเดินทางเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อ
ท่องเที่ยว กรณีศึกษา เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต มีสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว รองลงมา คือ มีสิ่ง
อานวยความสะดวกครบครัน และมีกิจกรรมระหว่างการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ 2.) ระดับความสาคัญ
ของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว
เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ตพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อนาระดับความสาคัญของการสื่อสารการตลาด
แบบบูรณาการต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว เทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ตทั้ง
5 ด้านมาเรียงลาดับตามค่าเฉลี่ย เพื่อพิจารณาตามลาดับความสาคัญ สามารถเรียงลาดับได้ ดังนี้
การโฆษณา รองลงมา คือ การสื่อสารออนไลน์ การประชาสัมพันธ์การตลาดทางตรง และการ
ส่งเสริมการขายและ 3.) ปัจจัยด้านการสื่อสารออนไลน์ ซึ่งเป็นปัจจัยด้านหนึ่งในการสื่อสาร
การตลาดแบบบูรณาการมีผลต่อสมการพยากรณ์แนวโน้มในการเดินทางกลับมาเข้าร่วมงานเทศกาล
เพื่อการท่องเที่ยว เทศกาลกินเจ เพียงปัจจัยเดียว
สาหรับข้อเสนอจากการศึกษา ได้แก่ การจัดทาฐานข้อมูลออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับงาน
เทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว และการโฆษณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยว
อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง รวมทั้งควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ

จัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาที่สังกัด


ระบบงานสารบัญ RMS 2016